บางครั้งรอยยิ้มอาจเป็นสัญลักษณ์ของความสุข
แต่บางเวลามันอาจเป็นเพียงหน้ากากรูปแบบหนึ่ง
.
นิยายเรื่องนี้ได้รับรางวัลรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทรางวัลนักเขียนรุ่นเยาว์ หมวดนวนิยายขนาดสั้น Seven Book Awards ครั้งที่ 17 ครับ โดยคำนิยมของคณะกรรมการเขียนไว้ว่า
.
"หน้ากากยิ้มของสิงโต" เป็นเรื่องที่สะท้อนภาพจากจินตนาการ การดำเนินเรื่องใช้แนวสัญลักษณ์ แต่สร้างเรื่องให้เป็นแนวสมจริง โดยใช้กลวิธีสวมหน้ากากและให้ตัวละครผู้หญิงและผู้ชายสลับกันเล่าเรื่อง "คุณอยากฟังเรื่องจริง หรือเรื่องที่ฉันอยากเล่า" ผู้ประพันธ์นำนิทานมาเล่าไว้ ๓ เรื่อง เป็นนิทานที่ให้แง่คิดดี เสมือนเป็นตัวแทนความคิด ความรู้สึก ความปรารถนาของตัวละคร ผ่านเรื่องราวในนิทาน
เรื่องสนุกได้เห็นจินตนาการ แนวคิด การใช้ชีวิตของวัยรุ่นที่มีสีสัน ตื่นเต้นเร้าใจ เป็นเรื่องอ่านสบายๆ บางเหตุการณ์ในเรื่องแสดงพฤติกรรมที่ไม่อาจคาดเดา ท้ายเรื่องทั้งสองได้เปิดเผยตัวตนและเรื่องราวที่เป็นเหตุผลให้สวมหน้ากาก
ประเด็นสำคัญจากบทประพันธ์เรื่องนี้ คือ การเน้นย้ำให้ตระหนักว่า "บางครั้งรอยยิ้มอาจเป็นสัญลักษณ์ของความสุข แต่บางเวลามันอาจเป็นเพียงหน้ากากรูปแบบหนึ่ง"
คณะกรรมการตัดสินจึงมีมติให้ "หน้ากากยิ้มของสิงโต" ของ "กนกศักดิ์ เรือนทอง" ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ รางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ประเภทรางวัลนักเขียนรุ่นเยาว์ หมวดนวนิยายขนาดสั้น ประจำพุทธศักราช ๒๕๖๓
.
เป็นนวนิยายขนาดสั้นๆ ประมาณ 50 หน้ากระดาษ A4
ฝากติดตามด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น